วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

ดอยอินทนนท์

ดอยอินทนนท์

อยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เชียงใหม่ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อพ.ศ.2515 ประกาศเป็นอุทยานฯ เป็นลำดับที่ 6 ของประเทศไทย มีพื้นที่ 482.4 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ดอยอินทนนท์แต่เดิมดอยนี้มีชื่อว่า "ดอยหลวง" หรือ "ดอยอ่างกา"ดอยหลวง มาจากขนาดของดอยที่ใหญ่มาก ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "ดอยหลวง" (หลวง: เป็นภาษาเหนือ แปลว่า ใหญ่)




                             ดอยอินทนนท์ อดีตกาลก่อนป่าไม้ทางภาคเหนืออยู่ในความควบคุมของเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (องค์สุดท้าย) พระองค์ให้ความสำคัญกับป่าไม้อย่างมาก โดยเฉพาะป่าในบริเวณดอยหลวง ทรงรับสั่งว่า หากสิ้นพระชนม์ลงให้นำอัฐิบางส่วนขึ้นไปสร้างสถูปบรรจุไว้บนดอย ดอยนี้จึงมีนามเรียกขานว่า "ดอยอินทนนท์" แต่มีข้อมูล บางกระแสกล่าวว่า ที่ดอยหลวงเรียกว่า ดอยอินทนนท์ นั้น เป็นเพราะเนื่องจากว่าเป็นการให้เกียรติ เจ้าผู้ครองนคร จึงตั้งชื่อจากคำว่า "ดอยหลวง" ซึ่งเป็นชื่อที่มีความซ้ำกับดอยหลวง ของอำเภอเชียงดาว แต่ภายหลังมีชาวเยอรมัน มาทำการสำรวจและวัด ซึ่งปรากฎผลว่า ดอยหลวง หรือดอยอ่างกา ที่อำเภอแม่แจ่มมีความสูงกว่า ดอยหลวง ของอำเภอเชียงดาว จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ เพื่อไม่ให้มีความซ้ำซ้อนกัน และเรียกดอยแห่งนี้ว่า "ดอยอินทนนท์"
                           

                      อุทยานแห่งชาติดอยอิน ทนนท์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของ "ป่าสงวนแห่งชาติดอยอินทนนท์" ต่อมาได้ถูกสำรวจและจัดตั้งเป็นหนึ่งในสิบสี่ ป่าที่ทางรัฐบาลให้ดำเนินการเป็นอุทยานแห่งชาติซึ่งครั้งแรกกรมป่าไม้เสนอ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ให้มี พื้นที่ 1,000 ตร.กม. หรือประมาณ 625,000 ไร่ แต่เนื่องจากพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ อาศัยอยู่ก่อนหลายชุมชน จึงทำการสำรวจใหม่ และกันพื้นที่ที่ราษฎร อยู่มาก่อน และคาดว่าจะมีปัญหาในอนาคตออก จึงเหลือพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 270 ตร.กม. หรือประมาณ 168,750 ไร่ ประกาศลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515 และในวันที่ 13 มิถุนายน 2521 รัฐบาลประกาศพื้นที่เพิ่มอีกเป็น 482.4 ตร.กม. อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ มีความสูงจากระดับน้ำทะลปานกลาง 400-2,565.3341 เมตร เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยสำหรับวัตถุประสงค์ในการกำหนดที่ดินให้ เป็นอุทยานแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 หมวด 1 มาตรา 6

 ที่มา  http://www.xn--l3cgagba3dxeb4e9n.com/
           http://www.doiinthanon.com/2010/attachment/mini/41869eabc5.jpg

มรดกทางวัฒนธรรมไทย....

มรดกทางวัฒนธรรมไทย....


ศิลปหัตถกรรมไทย
ของใช้พื้นบ้านไทยในอดีต ถือเป็นวัฒนธรรมทางวัตถุ ที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตในสังคมระดับท้องถิ่น จนถึงระดับประเทศชาติ แสดงถึงเอกลักษณ์ บ่งชี้ถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในการประดิษฐ์ไว้เป็นมรดกของลูกหลานรุ่นต่อไป

มารยาทไทย
คนไทยได้รับการปลูกฝังจากบรรพบุรุษ สืบทอดต่อกันมาในเรื่องธรรมเนียมประเพณี ที่เกี่ยวกับการปฎิบัติระหว่างบุคคล ต่อบุคคลที่สังคมยอมรับ เช่น การทักทายด้วยการกราบไหว้ กริยามารยาทที่เรียบร้อยอ่อนน้อมแบบไทย
วรรณกรรมไทย
ชาวไทยมีสุนทรียะอยู่ในความคิด มีความสร้างสรรค์อยู่ในสายเลือด เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน วรรณกรรมไทยโบราณ จึงเป็นงานประเภทร้อยกรอง ที่แปรออกเป็นฉันทลักษณ์หลายหลากรูปแบบ ในสมัยอยุธยาวรรณกรรมไทยเจริญสูงสุด สมัยพระนารายณ์มหาราช ถือเป็นยุคทองแห่งวรรณคดี
ประเพณีไทย
กิจกรรมที่คนไทยถือปฎิบัติตามความเชื่อ ถือศรัทธาในศาสนา กฎ ระเบียบ จารีตประเพณีที่ปฎิบัติสืบทอดกันมา หลายชั่วอายุคน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง พิธีมงคลสมรส เป็นต้น
ปฎิมากรรมไทย
ส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นด้วยความศรัทธา ในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูปปางต่างๆ หรือตกแต่งสถาปัตยกรรม เช่น ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ของโบสถ์วิหาร
ภาษาไทย
ภาษาเป็นสิ่งแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของคนในชาติ ชาติไทยเรามีภาษาเป็นของตนเองทั้ง ภาษาพูด และภาษาเขียน พ่อขุนรามคำแหง ทรงเป็นผู้ประดิษฐ์อักษร และตัวเลขไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ.1826 ทำให้คนไทยมีภาษาเขียน เป็นภาษาประจำชาติ
ผ้าไทย
บรรพบุรุษของไทยในอดีต มีความชำนาญในการทอผ้า และสร้างลวดลายบนผืนผ้า ทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ของชาติขึ้น ลักษณ์ของผ้าไทยจัดเป็นมรดก ทางวัฒนธรรมที่เด่นชัด เนื่องจากลวดลายและเอกลักษณ์ จะแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น
งานประดิษฐ์ดอกไม้สด
บรรพบุรุษไทยได้คิดนำกลีบดอกไม้ ใบไม้ ประเภทต่างๆ มาจับ พับ เย็บ ร้อย หรือกรองประดิษฐ์เป็นลักษณะต่างๆ ให้ได้รูปแบบใหม่ที่แปลกไปจากเดิม และงดงามมาก งานประดิษฐ์ดอกไม้ถือเป็นการฝึกสมาธิ ฝึกความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้เห็นจิตใจที่งดงาม และละเอียดอ่อนของคนไทย
จิตรกรรมไทย
เป็นลักษณะภาพ 2 มิติ คือ จัดภาพที่อยู่ใกล้ไว้ตอนล่าง สิ่งที่อยู่ไกลไว้ตอนบน เห็นได้จาก ฝาฝนังตามวัดต่างๆ ภาพเขียน สมุดข่อย เป็นต้น
อาหารไทย
อาหารไทยมีมากมายหลายชนิด แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น และมีอาหารขึ้นชื่อของภาคต่างๆ ส่วนประเภทของหวานมีการประดิษฐ์มากมาย ซึ่งจัดได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย


วันสิ้นโลก


2012  นับถอยหลังวันสิ้นโลก  


โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน

1.ประกาศจากองค์การ NASA    วันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555) วันนั้นแกนโลกของเราจะพลิกกลับขั้ว คือ ขั้วโลกเหนือจะมาอยู่ที่ขั้วโลกใต้ ช่วงเวลานั้น โลกของเราจะไม่มีสนามพลังแม่เหล็ก เพื่อป้องกันตัวเองจากสนามพลังแม่เหล็ก และ รังษีต่างๆจากอวกาศ
แล้ววัน นั้นจะเป็นวันเดียวกับที่ ดวงอาทิตย์จะพลิกกลับขั้วเช่นกัน เพราะดวงอาทิตย์จะพลิกกลับขั้วทุกๆ 11 ปี ปีล่าสุดคือปี พ.ศ. 2544 ถ้ามาถึงวันนี้ก็ 11 ปีพอดี (2544 + 11 = 2555) ขณะ ที่ดวงอาทิตย์กำลังพลิกกลับขั้วนั้น ดวงอาทิตย์จะแผ่สนามแม่เหล็ก และรังษีความร้อนสูงมายังโลก ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่โลก ไม่มีสนามแม่เหล็กป้องกันตัวเอง ผลคือ น้ำแข็งขั้วโลกละลายฉับพลัน น้ำท่วมโลกฉับพลัน ไม่มีทางหนีได้ทัน ในวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555)
<<<<<ภาพจําลองของ NASA
2.ชาวมายา (ชนเผ่ามายาแห่งอเมริกากลาง) ทำปฏิทินใช้เองตั้งแต่ 1,000 ปีที่แล้ว ชนเผ่ามายานี้มีความสามารถในการคำนวนการโคจร การเกิดดับของดวงดาวอย่างไม่น่าเชื่อ คือเขาสามารถคำนวนว่า โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์โดยใช้เวลา 365 วัน ตั้งแต่ 1,000 ปีที่แล้ว ซึ่งตรงกับปฏิทินที่ชาวโลกปัจจุบันใช้กัน แล้วยังสามารถคำนวนเกี่ยวกับระบบสุริยะจักรวาลได้อย่างแม่นยำมาก
ชาว มายายังกำหนดวันสุดท้ายของปฏิทินของพวกเขาคือ วันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555) พวกเขาบอกด้วยว่า วันนั้นโลกจะถึงจุดสิ้นสุด (โดยบอกไว้เมื่อ 1,000 กว่าปีที่แล้ว) น่าแปลกมาก ทำไมมาตรงกับองค์การ NASA อ่ะ


3. นาย Gordon-Michael Scallion เป็นผู้หยั่งรู้อนาคต (futurist) มีญาณทัศนะ(Spiritual Visionary) คือมองเห็นอนาคตด้วยญาณ มีความแม่นยำมาก เขาได้ทำนายว่า น้ำกำลังจะท่วมโลก จนหลายประเทศหายไปจากแผนที่ ประเทศที่เป็นเกาะจะจมน้ำทั้งหมด ประชากรโลกที่รอดตายมีเพียง 10% เท่านั้น เขาเชื่อว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นในระหว่างปี 1998-2012 (พ.ศ.2541-พ.ศ.2555) และเขาได้สร้างแผนที่โลกใหม่หลังน้ำท่วมครั้งใหญ่ ภายใต้ชื่อ Future Map Of The World ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 1978 (พ.ศ. 2521) ซึ่งประเทศไทยเหลือแค่ครึ่งเดียวเท่านั้น



สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดขอนแก่น


สถานที่ท่องเที่ยว  จังหวัดขอนแก่น
วัดหนองแวง (พระอารามหลวง) ซึ่งมีพระมหาธาตุแก่นนคร หรือ พระธาตุเก้าชั้น เรือนยอดทรงเจดีย์ (จำลองแบบจากพระธาตุขามแก่น) จัดสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราช สมบัติครบ 50 ปี และมหามังคลานุสรณ์ 200 ปี เมืองขอนแก่น ความสูงขององค์พระธาตุฯ 80 เมตร มีพระจุลธาตุ 4 องค์ ตั้งอยู่ 4 มุมและมีกำแพงแก้วพญานาค 7 เศียรล้อมรอบ เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี ผสมผสานศิลปะอินโดจีน ในระหว่างการเดินขึ้นเราจะได้ยินเสียงอันไพเราะก้องกังวานของกระดิ่งที่แขวน ไว้โดยรอบพระธาตุทั้ง 9 ชั้น ทำให้มีความสุขใจในขณะเดินขึ้นไปในแต่ละชั้น พร้อมยังสามารถเดินชมศิลปะและความงดงามของบานประตู ภาพวาด และหน้าต่างแกะสลัก บอกเล่าเรื่องราวเป็นภาพชาดก ภาพพุทธประวัติ ในชั้นบนสุดของพระธาตุเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุกลางบุษบก อีกทั้งยังเป็นจุดชมวิวทัศนียภาพความสวยงามของเมืองขอนแก่นได้รอบทั้ง 4 ทิศ โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันออกสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของบึงแก่นนครที่มีพื้นที่ กว้างใหญ่ถึง 600 ไร่
ภายในองค์พระธาตุแต่ละชั้น
-   ชั้นที่ 1 เป็นหอประชุม มีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ส่วนอุรังคธาตุ (ส่วนอก) และพระธาตุของพระสาวกประมาณ 100 องค์ ประดิษฐานอยู่ บานประตู หน้าต่าง แกะสลักภาพนิทานเรื่องจำปาสี่ต้น แบบ 3 มิติ และมีจิตรกรรมฝาผนังประวัติศาสตร์เมืองขอนแก่น
-   ชั้นที่ 2 เป็นพิพิธภัณฑ์ของชาวอีสาน โดยเก็บรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ในอดีตที่ค่อนข้างหาดูได้ยากในปัจจุบัน พร้อมทั้งทีการวาดลวดลายบนผนังที่เกี่ยวกับข้อห้ามของคนอีสาน ที่เรียกว่า "คะลำ" ซึ่งเป็นแนวประพฤติตนในการอยู่ร่วมกันของชาวอีสาน โดยแต่ละภาพก็หมายถึงข้อห้ามแต่ละข้อ ซึ่งมีทั้งหมด 35 ข้อ บานประตู หน้าต่าง เขียนลวดลายเบญจรงค์ และภาพแกะสลักนิทานเรื่องสังศิลป์ชัย
-   ชั้นที่ 3 เป็นหอปริยัติบานประตู หน้าต่าง เขียนลวดลายเบญจรงค์และภาพแกะสลักนิทานเรื่องนางผมหอม เป็นนิทานที่ได้เล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณของชาวอีสาน และในชั้นที่สามนี้ได้รวบรวมตาลปัตร พัดยศ และเครื่องอัฐบริขารของพระภิกษุสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในจังหวัดขอนแก่น
-   ชั้นที่ 4 เป็นหอปริยัติธรรม ภายในมีพิพิธภัณฑ์ของเก่า ภาพวาดที่บานประตู หน้าต่าง เป็นภาพพระประจำวันเกิด เทพประจำทิศ และตัวพึ่ง-ตัวเสวย
-   ชั้นที่ 5 เป็นหอพิพิธภัณฑ์ มีบริขารของหลวงปู่พระครูปลัดบุษบา สุมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดรูปที่ 6 บานประตูหน้าต่างแกะสลักภาพพุทธชาดก
-   ชั้นที่ 6 เป็นหอพระอุปัชฌายาจารย์ บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานชาดกเรื่องเวสสันดร
-   ชั้นที่ 7 เป็นหอพระอรหันต์สาวก บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานเรื่องพระเตย์มีใบ้
-   ชั้นที่ 8 เป็นหอพระธรรม เป็นที่รวบรวมพระธรรม คัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา พระไตรปิฏก ฯลฯ บานประตูแกะสลักรูปพรหม 16 ชั้น
-   ชั้นที่ 9 เป็นหอพระพุทธ ตรงกลางมีบุษบก เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า บานประตูแกะสลักภาพ 3 มิติ รูปพรหม 16 ชั้น
เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 8.00 - 18.00 น.
พระธาตุขามแก่น สร้างขึ้นประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ตั้งอยู่ในวัดเจติยภูมิ ตำบลบ้านขาม ตามประวัติโดยย่อกล่าวว่า โมริยกษัตริย์ เจ้าเมืองโมรีย์ซึ่งเป็นเมืองอยู่ใน อาณาเขตของประเทศกัมพูชา มีความประสงค์ที่จะนำพระอังคารของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ไว้เมื่อครั้งพระ พุทธเจ้าปรินิพพานใหม่ๆ มาบรรจุ ณ พระธาตุพนม จึงโปรดให้พระอรหันต์และพระเถระเจ้าคณะรวม 9 องค์นำขบวนอัญเชิญพระอังคารมาในครั้งนี้ เมื่อผ่านมาถึงดอนมะขามแห่งหนึ่ง ซึ่งมีต้นมะขามใหญ่ที่ตายแล้วเหลือแต่แก่น เนื่องจากเป็นเวลาพลบค่ำแล้วและบริเวณนี้ภูมิประเทศราบเรียบดีจึงหยุดคณะพัก ชั่วคราว รุ่งเช้าจึงเดินทางต่อไปถึงภูกำพร้าปรากฏว่าพระธาตุพนมได้สร้างเสร็จแล้ว จึงเดินทางกลับและตั้งใจว่าจะนำพระอังคารธาตุกลับไปประดิษฐานไว้ที่บ้าน เมืองของตน แต่เมื่อเดินทางผ่านดอนมะขามอีกครั้งปรากฏว่าแก่นมะขามที่ตายแล้วนั้นกลับ ยืนต้นแตกกิ่งก้านผลิใบเขียวชอุ่มเป็นที่น่าอัศจรรย์ คณะอัญเชิญพระอังคารธาตุจึงพร้อมใจกันสร้างเจดีย์ครอบต้นมะขามนี้พร้อมกับนำ พระอังคารธาตุและพระพุทธรูปบรรจุไว้ในองค์พระธาตุและให้นามว่าพระธาตุขาม แก่นมาจนทุกวันนี้ พระธาตุขามแก่นถือว่าเป็นโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัดขอนแก่น ทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 จะมีงานฉลองและนมัสการพระธาตุเป็นประจำ บริเวณด้านข้างก็จะมีโบสถ์สมัยโบราณซึ่งมีสถาปัตยกรรมของการแกะสลักไม้ตรง บริเวณหน้าจั่วที่สวยงาม พร้อมชมภาพวาดแปลกตาที่มีทหารยืนเฝ้าด้านหน้าประตูโบสถ์
ศาลหลักเมืองขอนแก่น เป็นสถานที่อันศักดิสิทธิ์ที่ชาวขอนแก่นให้ความเคารพสักการะอย่างมาก ประดิษฐานอยู่ที่ศาลาสุขใจ ถนนเทพารักษ์ หน้าเทศบาลขอนแก่น ท่านเจ้าคุณปู่พระราชสารธรรมมุนี และหลวงธุรนัยพินิจ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ได้ริเริ่มสร้างขึ้น โดยนำหลักศิลาจารึกจากโบราณสถานในท้องที่อำเภอชุมแพมาประกอบพิธีทางพุทธ ศาสนา และตั้งเป็นศาลหลักเมืองเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2499  ปัจจุบันได้มีการระดมทุนจากชาวบ้านซ่อมแซมศาลหลักเมืองหลังเก่าให้ดูดีขึ้น เสริมยอดฉัตรทองคำหนัก 8 กิโลกรัม พร้อมการขยายพื้นที่ให้สามารถจัดกิจกรรมสำคัญของเมือง ทำให้ศาลหลักเมืองเป็นทั้งที่เคารพสักการะและเป็นลานกิจกรรมไปในตัว ในยามค่ำคืนจะมีการประดับไฟ หรือบางครั้งเราก็จะได้เห็นการฉายหนังกางแปลงในบริเวณนั้นเพื่อเป็นการแก้บน ต่อท่านเทพารักษ์อีกด้วย
วัดพระพุทธบาทภูพานคำ ตั้งอยู่บริเวณไหล่เขาภูพานคำ อำเภออุบลรัตน์ ก่อนถึงทางเข้าเขื่อนอุบลรัตน์เล็กน้อย เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองในมณฑป และโดดเด่นด้วยพระพุทธรูปสีขาวขนาดใหญ่ หรือ หลวงพ่อใหญ่ ที่ประดิษฐานอยู่บริเวณเชิงเขาอย่างสง่างาม มีความสูงถึง 14 เมตร มีบันไดทางขึ้นจากลานวัดไปยังยอดเขาจำนวน 1,049 ขั้น หรือจะขับรถยนต์ขึ้นไปถึงยอดเขาก็ได้  สามารถมองเห็นทัศนียภาพทะเลสาบเขื่อนอุบลรัตน์ได้สวยงาม
เขื่อนอุบลรัตน์ เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ขนาดใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน สร้างกั้นลำน้ำพอง ตรงช่องเขาแนวต่อของเทือกเขาภูพานและภูพานคำ บริเวณเขื่อนมีทิวทัศน์สวยงาม ลมพัดเย็นสบาย มีสวนหย่อมให้นั่งเล่นพักผ่อนหย่อยใจ ภายในบริเวณมีร้านอาหารและบ้านพักให้บริการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่ทำการเขื่อนอุบลรัตน์ โทร.0-4344-6231 หรือ กรุงเทพฯ โทร. 0-2436-3271-2
การเดินทางไปชมเขื่อน ไปได้ตามทาง หลวงหมายเลข 2 (ขอนแก่น-อุดรธานี) ห่างจากขอนแก่น 26 กิโลเมตร ถึงหลักกิโลเมตรที่ 470-471 จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าสู่เขื่อนอุบลรัตน์อีก 24 กิโลเมตร รวมระยะทางห่างจากตัวเมือง 50 กิโลเมตร
บางแสน 2 ตั้งอยู่ที่บ้านหินเพิง ตำบลท่าเรือ อยู่ห่างจากอำเภอเมืองไปประมาณ 53 กิโลเมตร บรรยากาศโดยรอบของชายหาดริมทะเลสาบน้ำจืดเหนือเขื่อนอุบลรัตน์ กิจกรรมกีฬาทางน้ำที่น่าสนใจก็คือ การบริการให้เช่าจักรยานน้ำ, บานาน่าโบ๊ท, ห่วงยาง นอกจากนี้ยังมีบริการร้านอาหารตลอดแนวฝั่ง เน้นเป็นอาหารที่ปรุงจากปลาภายในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ได้แก่ ปลานิล, ปลาตะเพียน, ปลาช่อน, ฯลฯ  บรรยากาศดี
ถนนคนเดิน จัดทุกค่ำคืนวันเสาร์ ณ บริเวณถนนหน้าศาลากลางจังหวัด มีสินค้าพื้นเมืองและงานแฮนด์เมดให้เลือกซื้อจับจ่ายใช้สอยกัน รวมทั้งร้านขายของกินที่มีให้เลือกกันอย่างมากมายหลายร้าน  พร้อมมีการแสดงแบบเปิดหมวกโชว์ความสามารถของเหล่าเยาวชนรุ่นใหม่ให้ชมด้วย ราคาไม่แพง เปิดให้เดินกันตั้งแต่เวลา 17.00 - 24.00 น.
การเดินทาง
รถยนต์ส่วนตัว
 - ขอนแก่น อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปตามทางรถยนต์ 445 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรี ตรงหลักกิโลเมตรที่ 107 แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ขับตรงไปเรื่อยๆ ก็จะถึงจังหวัดขอนแก่น
-  อีก เส้นทางหนึ่ง ใช้เส้นทางจากกรุงเทพฯ ถึงสระบุรีแล้วตรงไปตามถนนสระบุรี-ลำนารายณ์ แยกขวาเข้าเส้นทางม่วงค่อม-ด่านขุนทด-ชัยภูมิ-ขอนแก่น หรือ สระบุรี-ลำนารายณ์-อำเภอเทพสถิตย์-ชัยภูมิ-อำเภอมัญจาคีรี-อำเภอพระยืน- ขอนแก่น

ประเพณีผูกเสี่ยว


ประเพณีผูกเสี่ยว


       เป็นประเพณีเก่าแก่และสำคัญของชาวอีสาน ที่ประพฤติปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานานนับศตวรรษ เป็นประเพณีที่พ่อแม่ได้นำลูกหลานที่รักกันมาผูกแขนเป็นเพื่อนกัน คำว่า "เสี่ยว" เป็นคำจากภาษาอีสานแท้ มีความหมายว่าเพื่อนรัก เพื่อนตาย ประดุจมีชีวิตเดียวกัน ซึ่งมีความซื่อสัตย์ จริงใจต่อกัน มีความผูกพันกันด้านจิตใจอย่างจริงจังและเต็มใจ และไม่มีสิ่งใดจะมาพรากจากกันได้แม้แต่ความตาย
       ประเพณีผูกเสี่ยว จึงเป็นประเพณีอันดีงามที่ควรจะช่วยอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่และเจริญพูนผลงอกงามยิ่งขึ้น เพื่อเป็นมรดกตกทอดไปยังคนรุ่นใหม่และคงอยู่กับคนไทยตลอดไป ทางขอนแก่นจึงมีการจัดเทศกาลไหมประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดเป็นประจำในวันที่ 29 พฤศจิกายน ถึง 10 ธันวาคมของทุกปี ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น


ที่มา  http://city.yellowpages.co.th/khonkaen/cultureshow.php?cid=100405085720

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม 






             พระพุทธไสยาส  พระองค์นี้ พระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๓ ทรงสร้าง ขึ้นครั้งทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน  เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ คือการปฏิสังขรณ์ครั้งนั้น ได้โปรดฯ ให้ขยายเขตพระอารามออกไปทางทิศเหนือ  แล้วโปรดฯ  ให้สร้างพระพุทธ ไสยาสขึ้นในที่ซึ่งได้ขยายออกไปใหม่นั้น  เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ด้านพระพักตร์สูง ๑๕ เมตร  มีความยาวตลอดทั้งองค์ถึง ๔๖ เมตร  พื้นพระบาทประดับด้วยมุกไฟเป็นภาพมงคล ๑๐๘ พระพุทธไสยาสองค์นี้ได้รับการขนานนามว่า เป็นพระพุทธไสยาสองค์ใหญ่ ที่มีความงดงามที่สุดในประเทศไทย

    ที่ผนังพระวิหารหลังนี้มีภาพเขียนสีและจารึกเรื่อง มหาวงศ์ (พงศาวดารลังกาทวีป) อยู่ด้านบนเหนือหน้าต่างขึ้นไป ระหว่างช่องหน้าต่างเขียนเรื่อง พระสาวิกาเอตทัคคะ (ภิกษุณี) ๑๓ องค์ อุบาสกเอตทัคคะ ๑๐ ท่าน อุบาสิกาเอตทัคคะ ๑๐ ท่าน
 



ที่มา  http://www.watpho.com/th/home/

สัตว์ หายากที่สุดในโลก (Lonesome George)




ต่ายักษ์กาลาปาโกส สายพันธุ์ Pinta Island Tortoise ตัวสุดท้าย
สัตว์ ที่ หายากที่สุดในโลก (Lonesome George)

Lonesome George            จอร์จผู้โดดเดี่ยว เป็นชื่อที่ใช้เรียก เต่ายักษ์ตัวนี้ เนื่องจากมันเป็นเต่ายักษ์กาลาปาโกส สายพันธุ์ Pinta Island Tortoise ตัวสุดท้ายในโลก จึงทำให้มัน ถูกจัดเป็น สัตว์ หายากที่สุดในโลก ( บางสายพันธุ์ยังมีเหลืออีกเป็นจำนวนมาก )

ลักษณะของ เต่ายักษ์กาลาปาโกส สายพันธุ์ Pinta Island Tortoise

  • ลำคอที่ยาวกว่า เต่ายักษ์สายพันธุ์อื่น
  • กระดองทรงจั่ว ซึ่งเป็นอีกผลที่ทำให้มันสามารถยืดคอขึ้นได้สูง เนื่องจากไม่ติดกระดอง
  • มีขนาดเล็กกว่าเต่ากาลาปาโกส พันธุ์อื่น โดยจอร์จเองมีน้ำหนัก 90 กิโลกรัม
  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์ "Geochelone nigra abingdoni"
สัตว์หายาก ตัวสุดท้าย

การแสดงภาคอีสาน


การแสดงภาคอีสาน


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของภาคอีสานเป็นที่ราบสูง มีแหล่งน้ำจากแม่น้ำโขง แบ่งตามลักษณะของสภาพความเป็นอยู่ ภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกัน ประชาชนมีความเชื่อในทางไสยศาสตร์มีพิธีกรรมบูชาภูติผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การแสดงจึงเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และสะท้อนให้เห็นถึงการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ได้เป็นอย่างดี การแสดงของภาคอีสานเรียกว่า เซิ้ง เป็นการแสดงที่ค่อนข้างเร็ว กระฉับกระเฉง สนุกสนาน เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง เซิ้งกระหยัง เซิ้งสวิง เซิ้งดึงครกดึงสาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ฟ้อนที่เป็นการแสดงคล้ายกับภาคเหนือ เช่น ฟ้อนภูไท (ผู้ไท) เป็นต้นเซิ้งสวิง
เป็นการละเล่นพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในท้องถิ่นอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการละเล่นเพื่อส่งเสริมด้านจิตใจของประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งมีอาชีพในการจับสัตว์น้ำ โดยมีสวิงเป็นเครื่องมือหลัก ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ท่านผู้เชี่ยวชาญนาฎศิลป์ไทย กรมศิลปากร จึงได้นำท่าเซิ้งศิลปะท้องถิ่นมาปรับปรุงให้เป็นท่าที่กระฉับกระเฉงขึ้น โดยสอดคล้องกับท่วงทำนองดนตรี ที่มีลักษณะสนุกสนานร่าเริง เครื่องดนตรี ที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงชุดเซิ้งสวิง ได้แก่ กลองยาว กลองแต๊ะ แคน ฆ้องโหม่ง กั๊บแก๊บ ฉิ่ง ฉาบ กรับ การแต่งกายชาย สวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกงขาก๊วย มีผ้าขาวม้าโพกศีรษะและคาดเอว มือถือตะข้อง หญิง นุ่งผ้าซิ่นพื้นบ้านอีสาน ผ้ามัดหมี่มีเชิงยาวคลุมเข่า สวมเสื้อตามลักษณะผู้หญิงชาวภูไท คือสวมเสื้อแขนกระบอกคอปิด ผ่าอก ประดับเหรียญโลหะสีเงิน ปัจจุบันใช้กระดุมพลาสติกสีขาวแทน ขลิบชายเสื้อ คอ ปลายแขน และขลิบผ่าอกตลอดแนวด้วยผ้าสีตัดกัน เช่น สีเขียวขลิบแดง หรือสวมเสื้อกระบอกคอปิด ผ่าอก ห่มสไบเฉียงทับตัวเสื้อ สวมสร้อยคอโลหะทำด้วยเงิน ใส่กำไลข้อมือและกำไลข้อเท้า ผมเกล้ามวยสูงไว้กลางศีรษะ ทัดดอกไม้ มือถือสวิง


เซิ้งโปงลางโปงลางเดิมเป็นชื่อของโปงที่แขวนอยู่ที่คอของวัวต่าง โปงทำด้วยไม้หรือโลหะ ที่เรียกว่าโปงเพราะส่วนล่างปากของมันโตหรือพองออก ในสมัยโบราณชาวอีสานเวลาเดินทางไปค้าขายยังต่างแดน โดยใช้บรรทุกสินค้าบนหลังวัว ยกเว้นวัวต่างเพราะเป็นวัวที่ใช้นำหน้าขบวนผูกโปงลางไว้ตรงกลางส่วนบนของต่าง เวลาเดินจะเอียงซ้ายทีขวาทีสลับกันไป ทำให้เกิดเสียงดัง ซึ่งเป็นสัญญาณบอกให้ทราบว่าหัวหน้าขบวนอยู่ที่ใด และกำลังมุ่งหน้าไปทางไหนเพื่อป้องกันมิให้หลงทางส่วนระนาดโปงลางที่ใช้เป็นดนตรีปัจจุบันนี้ พบมากที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เรียกว่า "ขอลอ" หรือ "เกาะลอ" ดังเพลงล้อสำหรับเด็กว่า "หัวโปก กระโหลกแขวนคอ ตีขอลอดังไปหม่องๆ" ชื่อ "ขอลอ" ไม่ค่อยไพเราะจึงมีคนตั้งชื่อใหม่ว่า "โปงลาง" และนิยมเรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน ไม้ที่นำมาทำเป็นโปงลางที่นิยมกันได้แก่ ไม้มะหาด และไม้หมากเหลื่อม การเล่นทำนองดนตรีของโปงลางจะใช้ลายเดียวกันกับ แคน และพิณ ลายที่นิยมนำมาจัดท่าประกอบการฟ้อน เช่น ลายลมพัดพร้าว ลายช้างขึ้นภู ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายนกไซบินข้ามทุ่ง ลายแมงภู่ตอมดอก ลายกาเต้นก้อน เป็นต้นเครื่องแต่งกาย ใช้ผู้แสดงหญิงล้วนสวมเสื้อแขนกระบอกสีพื้น นุ่งผ้ามัดหมี่ใช้ผ้าสไบเฉียงไหล่ ผูกโบว์ตรงเอว ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายโปงลางหรือลายอื่นๆ
เซิ้งตังหวาย
เซิ้งตังหวาย เป็นการรำเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในพิธีขอขมาของชาวจังหวัดอุบลราชธานี ภายหลังนิยมแสดงในงานนักขัตฤษ์และต้อนรับแขกผู้มีเกียรติของภาคอีสาน ครูนาฏศิลป์พื้นเมือง วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด กรมศิลปากร ได้ประยุกต์และจัดกระบวนรำขึ้นใหม่ รวม 12 ท่า จากท่ารำแม่บทอีสาน โดยผู้แสดงแต่งกายห่มผ้าคาดอก นุ่งซิ่นฝ้ายมัดหมี่มีเชิง เกล้าผมสูงเครื่องดนตรีพื้นเมืองที่ใช้บรรเลงประกอบ คือ โปงลาง แคน พิณ ซอ กั๊บแก๊บ ฉิ่ง และฉาบ
เซิ้งกระหยัง
เป็นชุดฟ้อนที่ได้แบบอย่างมาจากเซิ้งกระติบข้าว โดยเปลี่ยนจากกระติบข้าวมาเป็นกระหยัง ซึ่งเป็นภาชนะทำด้วยไม้ไผ่ มีลักษณะคล้ายกระบุงแต่มีขนาดเล็กกว่า เซิ้งกระหยัง เป็นการแสดงอย่างหนึ่งของชาวกาฬสินธุ์ โดยอำเภอกุฉินารายณ์ได้ประดิษฐ์ขึ้น โดยดัดแปลงและนำเอาท่าฟ้อนจากเซิ้งอื่นๆ เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งสาละวัน ฯลฯ เข้าผสมผสานกันแล้วมาจัดกระบวนขึ้นใหม่มีอยู่ 19 ท่า ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น ท่าไหว้ ท่าไท ท่าโปรยดอกไม้ ท่าขยับสะโพก ท่าจับคู่ถือกะหยัง ท่านั่งเกี้ยว ท่าสับหน่อไม้ ท่ายืนเกี้ยว ท่ารำส่าย ท่าเก็บผักหวาน ท่ากระหยังตั้งวง ท่าตัดหน้า ท่าสาละวัน ท่ากลองยาว ท่ารำวง ท่าชวนกลับ ท่าแยกวง ท่านั่ง ที่ได้ชื่อว่าเซิ้งกระหยังเพราะผู้ฟ้อนจะถือกระหยังเป็นส่วนประกอบในการแสดงเครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงสวมเสื้อแขนกระบอกสีดำ หรือน้ำเงินขลิบขาว นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ ฝ่ายชายสวมเสื้อม่อฮ่อมกางเกงขาก๊วย ใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว และโพกศีรษะเครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานซึ่งประกอบด้วย กลองยาว ฉาบ และฉิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องกำกับจังหวะ ใช้แคน พิณ ปี่แอ้ เป็นเครื่องดำเนินทำนอง อุปกรณ์การแสดง กระหยัง



เซิ้งกะโป๋
เป็นการละเล่นที่เน้นความสนุกสนานเป็นหลักโดยใช้กะโป๋ หรือ กะลามะพร้าว เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการเล่น เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศต่างๆ ในแถบเอชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฟิลิปปิน อินโดนีเซีย โดยเฉพาะมาเลเซีย มีการละเล่นซึ่งใช้กะลาประกอบอยู่ ซึ่งเมื่อเสร็จจากการเก็บเกี่ยวชาวมาเลย์ก็จะมีการรื่นเริงและฉลองกัน บ้างก็ช่วยกันขูดมะพร้าวและตำน้ำพริก จึงได้นำเอากะลามะพร้าวมาเคาะประกอบจังหวะกันเป็นที่สนุกสนาน ระบำกะลาของมาเลเซียมีชื่อเป็นภาษามาเลย์ว่า "เดมปุรง" หรือแม้แต่ประเทศกัมพูชาก็มีการละเล่นที่ใช้กะลาเป็นอุปกรณ์เช่นเดียวกัน เซิ้งกะโป๋คงได้แบบอย่างมาจากระบำกะลาที่นิยมเล่นกันในกัมพูชาและแถบอีสานใต้ ระบำกะลามีจังหวะเนิบนาบ จึงมีการปรับปรุงใหม่โดยใช้เพลงพื้นเมืองอีสาน และยังนำเอาเพลงพื้นเมืองของอีสานใต้มาใช้ประกอบอยู่คือเพลง เจรียงซันตรูจเครื่องแต่งกาย เซิ้งกะโป๋จะแบ่งผู้แสดงออกเป็น 2 ฝ่าย คือ หญิงและชาย ฝ่ายหญิงนุ่งซิ่นพื้นเมืองอีสาน สวมเสื้อแขนกระบอก เกล้าผมมวยใช้แพรมนรัดมวย ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาก๊วย สวมเสื้อคอกลม มีผ้าขาวม้าผูกเอวเครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน แต่เล่นลายพื้นเมืองของอีสานใต้คือ เจรียงซันตรูจเซิ้งกะโป๋ หรือ เซิ้งกะลา นี้มีผู้ประดิษฐ์จัดทำเป็นชุดฟ้อนที่แตกต่างกันออกไป เช่น• วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ จะใช้ลีลาการกระทบกะลาที่ไม่คล้ายกับระบำกะลาของอีสานใต้มากนัก และนำการละเล่นของพื้นเมืองของเด็กอีสานมาประกอบ เช่น การเดินกะโป๋ หรือ หมากกุ๊บกั๊บ ฯลฯ • วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด จะใช้ลีลาการกระทบกะลา ซึ่งพอจะเห็นเค้าว่าได้แบบอย่างมาจากระบำกะลาของอีสานใต้ แต่งกายเช่นเดียวกับระบำกะลา คือฝ่ายหญิงนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแขนกระบอก คล้องสไบผูกชายที่เอว ฝ่ายชายนุ่งโจงกระเบนสวมเสื้อคอกลมแขนสั้น มีผ้าขาวม้าพับทบด้านหน้า ทิ้งชายด้านหลัง



ฟ้อนผู้ไท(ภูไท)เป็นฟ้อนผู้ไทที่มีลีลาแตกต่างจากฟ้อนผู้ไทในท้องถิ่นอื่น เนื่องจากฟ้อนผู้ไทจังหวัดสกลนครจะสวมเล็บ คล้ายฟ้อนเล็บทางภาคเหนือ ปลายเล็บจะมีพู่ไหมพรมสีแดง ใช้ผู้หญิงฟ้อนล้วนๆ ท่าฟ้อนที่ชาวผู้ไทสกลนครประดิษฐ์ขึ้นนั้นมีเนื้อเพลงสลับกับทำนอง การฟ้อนจึงใช้ตีบทตามคำร้องและฟ้อนรับช่วงทำนองเพลง ท่าฟ้อนมีดังนี้ ท่าดอกบัวตูม ท่าดอกบัวบาน ท่าแซงแซวลงหาด ท่าบังแสง ท่านางไอ่เลาะดอน หรือนางไอ่เลียบหาด ท่านาคีม้วนหาง ดนตรีใช้กลองกิ่ง แคน กลองตุ้ม กลองแตะ กลองยาว ฆ้องโหม่ง พังฮาด ไม้กั๊บแก๊บเครื่องแต่งกาย จะใส่เสื้อสีดำ ผ้าถุงดำขลิบแดง สวมเล็บทำด้วยโลหะหรือบางแห่งใช้กระดาษทำเป็นเส้นมีพู่ตรงปลายสีแดง ห่มผ้าเบี่ยงสีแดง ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้สีขาว บางครั้งผูกด้วยผ้าสีแดงแทน ในปัจจุบันพบว่า เสื้อผ้าชุดฟ้อนผู้ไทจังหวัดสกลนครได้เปลี่ยนไปบ้าง คือ ใช้เสื้อสีแดงขลิบสีดำ ผ้าถุงสีดำมีเชิง ผ้าเบี่ยงอาจใช้เชิงผ้าตีนซิ่นมาห่มแทนเครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน เพลงผู้ไท เพลงเต้ยโขง เพลงแมงตับเต่า เพลงบ้งไต่ขอน เพลงลำเพลินและเพลงลำยาว
 

หมากกั๊บแก๊บลำเพลิน
การเล่นหมากกั๊บแก๊บ เป็นการเล่นที่ไม่มีขนบตายตัว สุดแท้แต่ผู้แสดงจะมีความสามารถ แสดงออกลีลา ท่าทางที่โลดโผน เป็นที่ประทับใจสาว ๆ ได้มากน้อยเพียงใด ถ้าเล่นกันเป็นคู่ ฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นฝ่ายรุก อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องรับ แล้วผลัดเปลี่ยนกันไป ตามแต่โอกาสและปฏิภาณไหวพริบของผู้เล่น โดยอาจารย์ชุมเดช เดชภิมล แห่งวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด เป็นผู้ผสมผสานการเล่นหมากกั๊บแก๊บ เข้ากับการเล่นลำเพลินของชาวอีสาน ที่ยังคงลีลาการเล่นหมากกั๊บแก๊บและลีลาของการฟ้อนลำเพลินได้อย่างสมบูรณ์แบบ จุดเด่นของการแสดงอยู่ที่จังหวะ ลีลาและท่วงทำนอง ของดนตรี อันสนุกสนานเร้าใจ

ปลาหมึกยักษ์ ใหญ่ที่สุดในโลก


ปลาหมึกยักษ์ ใหญ่ที่สุดในโลก

Colossal squid      เป็นปลาหมึกยักษ์สายพันธุ์ ที่ ใหญ่ที่สุดในโลกที่ค้นพบขณะนี้ ถึงมันจะมีขนาดใหญ่โต แต่ก็เป็นสัตว์ที่ลึกลับ ที่สุดสายพันธุ์หนึ่ง เนื่องจากเป็นสัตว์น้ำลึกในช่วงโตเต็มวัยจะอาศัยอยู่ในน้ำลึกถึง 2,200 เมตร

รายละเอียดเกี่ยวกับ ปลาหมึกยักษ์ ใหญ่ที่สุดในโลก


  • Colossal Squid มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mesonychoteuthis hamiltoni มาจากภาษากรีซ โดย mesos แปลว่า กลาง , nychus แปลว่า เขี้ยว , teuthis แปลว่า ปลาหมึก
  • Colossal Squid ขนาดใหญ่ที่สุด ที่จับได้นั้นมีความยาว 10 เมตร หนัก 495 กิโลกรัม จับได้ที่นิวซีแลนด์ ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2007
  • คาดกันว่ามันจะสามารถมีขนาดใหญ่โตได้ถึง 12 - 14 เมตร ซึ่งเป็นการประเมินจากชิ้นส่วน ซากชิ้นเล็กที่ถูกฟัดขึ้นมาเกยตื้น แล้วเปรียญเทียบกับ ปลาหมึกที่จับได้
  • ด้วยขนาด 12 - 14 เมตร ทำให้ ปลาหมึกยักษ์ เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  • Colossal Squid มีปากที่เป็นจงอยเขี้ยวขนาดใหญ่ ที่ปลายหนวดมีเขี้ยวตะขอขนาดใหญ่ที่ใช้ในการจับเหยื่อ มันเป็นสัตว์นักล่า แห่งทะเลลึก
  • ปลาหมึกตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้มาก
  • การค้นพบมันครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ ค้นพบหนวด 2 เส้นในท้องของวาฬสปอร์ม ( Sperm whale )
  • ในปี 1981 เรือ Ross sea ของรัสเซีย สามารถจับมันได้ที่ อาร์กติก ปลาหมึกที่จับได้มีความยาว 4 เมตร
  • ปลาหมึกยักษ์ ยังครองตำแหน่ง สัตว์ ตาโตที่สุดในโลก ด้วยดวงตาขนาด 28 เซ็นติเมตร
ปลาหมึกยักษ์ ใหญ่ที่สุดในโลก
ภาพขณะที่จับปลาหมึกยักษ์ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่จับได้ ในปี 2007